ในวันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ทีมงานพวป.ได้ยกทีมงาน และพาผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัย ผู้ช่วยศาสตราจาร์ย ดร. ปิยนันท์ หิรัณชโลทร อาจารย์ประจำสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปให้ความรู้คุณครูกันที่จังหวัดโคราช ณ. ห้องประชุมแกรนด์บอลลูม โรงแรมรายาแกรนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ทางทีมงานรู้สึกดีใจและภูมิใจที่มีคุณครูผู้เข้าอบรมหลายท่านติดตามข่าวสานการอบรมของเราและเดินทางมาไกลจากหลายจังหวัดในภาคอีสาน และมีคุณครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเดินทางมาร่วมอบรมไกลจากจังหวัดฉะเฉิงเทราด้วย! ทีมงานก็หวังว่าจะได้รับการติดตาม และสนับสนุนจากคุณครูในการอบรมครั้งต่อๆ ไปเหมือนเดิมนะครับ
สำหรับคุณครูหลายๆ ท่านที่พลาดการอบรมในครั้งเพราะติดภารกิจ ไม่เป็นไรครับคุณครูสามารถติดตามข่าวสารการอบรมของเราได้จากเว็บเซต์ หรือ Facebook page ของบริษัท หรือจะสมัครเมลลิสต์เพื่อจะได้ไม่พลาดข่าวสารอบรมหรือสื่อการเรียนคุณภาพจากพวป.ครับ วันนี้ผมขอเก็บประเด็นสำคัญๆ มาแชร์กันกับคุณครูจะได้มาอัพเดทกันครับ
ประเด็นสำคัญจากการอบรม
1.การออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะสมองสำหรับเด็กปฐมวัย เราจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับสมอง และพัฒนาการด้านการคิดหรือสมองของเด็กปฐมวัยก่อนนะครับ
2.สมองที่เราพูดถึงเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก มีอยู่ 3 ส่วนหลักนะครับ แต่ส่วนที่เป็นพระเอกของเราจริงๆ คือสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) หรือทักษะสมอง EF เพราะเป็นส่วนที่ข่วยให้เราจัดการกับปัญหายากๆ ได้ หรือสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ไม่เคยเกิดขึ้น แต่สมองส่วนอื่นก็มีความสำคัญเหมือนกันนะครับ ได้แก่ สมองส่วนระบบลิมบิกก็เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความผูกพันธ์ของมนุษย์ และสมองส่วนท้ายทอยก็เป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณพื้นฐานเมื่อเจอภัย เช่น สู้ ถอย หนี ยอม หรือการดำรงชีวิตพื้นฐาน เช่น การหายใจ
สมองทุกส่วนมีส่วนสำคัญกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ แต่สมองส่วนหน้าจะเป็นพระเอกของเราที่ช่วยให้เราแก้ปัญหาความขัดแย้ง หรือปัญหาที่มีความซับซ้อน ท้าทาย ได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในศตวรรษที่ 21
3.สำหรับการพัฒนาทักษะสมอง EF เราสามารถจำแนกออกมาเป็นทักษะย่อย 9 ด้าน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาเด็ก โดยเราไม่จำเป็นต้องส่งเสริม 9 ด้านไปพร้อมกันภายในกิจกรรมเดียว เพียงแค่ส่งเสริมให้ครบทั้ง 9 ด้าน จากกิจกรรมที่หลากหลาย
ทักษะสมอง EF มี 9 ด้าน ได้แก่
- ความจำเพื่อใช้งาน (Working memory)
- การยับยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง (Inhibitory control)
- การคิดยืดหยุ่น (Shift/Cognitive Flexibility) ไม่เชื่อว่าเราคิดถูกแต่อย่างเดียว มีมุมมอง ความคิดอื่นๆ ที่อาจจะดีหรือถูกต้องเหมือนกัน
- การควบคุมอารมณ์ (Emotional/Behavioral control)
- จดจ่อใส่ใจ (Focus/Attention) อันนี้ก็เหมือนมีสมาธิ ไม่ใช้พฤติกรรมที่นิ่งไม่ขยับเคลื่อนไหวนะครับ แต่เป็นใจที่จดจ่อกับเรื่องใดเรื่องนึงอย่างต่อเนื่อง
- ติดตาม ประเมินตนเอง (Self-Monitoring)
- ริเริ่ม (Initiating)
- การวางแผน จัดระบบ ดำเนินการ (Planning and Organizing)
- มุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
4.เด็กในวัย 1 ขวบ ยังไม่พร้อมที่จะพัฒนาทักษะสมอง EF นะครับ ควรเริ่มจากการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานอื่นๆ ก่อน ทักษะภาษา หรือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สำรวจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว
5.วัยสองขวบขึ้นไป คุณครูมาสามารถออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ที่เป็นแบบกิจกรรมเชิงรุก (Active Learning) กิจกรรมเชิงรุกคือกิจกรรมที่เด็กได้ใช้สมองเยอะ ไม่ได้หมายถึงต้องเคลื่อนไหวเยอะๆนะครับ เป็นกิจกรรมที่มีความท้าทาย และเด็กได้ทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับเพื่อนๆ ครับ
6.ในการออกแบบกิจกรรมคุณครูไม่ต้องเน้นทักษะ EF ทั้ง 9 ด้านไปพร้อมๆ กัน ไม่งั้นคุณครูจะประเมินเด็กไม่ได้ เช่นในห้องเรียนมีเด็ก 30 คน ถ้าคุณครูปรเมินทั้ง 9 ด้านใน 1 กิจกรรม จะเท่ากับว่าคุณครูต้องประเมินเด็ก 270 ด้าน ใน 1 กิจกรรม ซึ่งมีรายละเอียดเยอะมากๆ
ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเริมทักษะสมอง EF
ในการอบรมของเราดำเนินไปด้วยกิจกรรมที่ให้คุณครูได้ลงมือเล่นและทำกิจกรรม คุณครูได้ร่วมเรียนรู้และสะท้อนคิดจากการทำกิจกรรมจริงๆ ถึง 7 กิจกรรม วันนี้ผมจะหยิบเอา 4 กิจกรรมที่เป็นทีเด็ดมาเล่าให้ครูฟังละกันนะครับ
กิจกรรมที่ 1 Ball Movement
- อุปกรณ์ ลูกบอลประมาณ 4-7 สี ขนาดขนาดประมาณ 7 ซม. ตามจำนวนเด็ก
- วิธีการเล่น เด็กแต่ละคนเลือกลูกบอลมาคนละ 1 สี เมื่อเด็กได้ลูกบอลครบทุกคนแล้ว เริ่มการเล่นโดยเปิดเพลงและให้เด็กเด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง คุณครูหยุดเพลงพร้อมแสดงภาพโจทย์ลูกบอลสีต่างๆ และให้เด็กจับกลุ่มกับเพื่อนตามสีและจำนวนของลูกบอลตามโจทย์
- ทักษะสมอง EF จากกิจกรรมนี้คุณครูวิเคราะห์กันว่าทักษะ EF ที่เด็กได้คือ
- ความจำเพื่อใช้งาน
- ความคิดยืดหยุ่น
- การวางแผน จัดระบบ และดำเนินการ
- กิจกรรมนี้เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป
กิจกรรมที่ 2 Happy Band
- อุปกรณ์ เครื่องดนตรีให้พอกับจำนวนเด็กที่รวมคุณกิจกรรม ควรใช้เครื่องดนตรีที่หลายหลาย เครื่องสาย เครื่องเป่า เครื่องกระทบ
- วิธีการเล่น คุณครูเปิดเพลงที่เด็กๆ ชื่นชอบ และให้เด็กแต่ละกลุ่มเล่นเครื่องดนตรีตามจังหวะ คุณครูสามารถเพิ่มความท้าทายโดยมอบหมายให้มีตัวแทนเด็กทำหน้าที่วาทยกร และกำกับวงดนตรีโดยให้กำหนดสัญลักษณ์เอง
- ทักษะสมอง EF
- ความจำใช้งาน
- ติดตาม ประเมินตนเอง
- จดจ่อใส่ใจ
กิจกรรมที่ 3 Paper Tower
- อุปกรณ์
- กระดาษ a4 หลายรีม
- สก๊อทเทปแบบฉีกได้
- วิธีการเล่น คุณครูแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 4 – 6 คน และมอบอุปกรณ์ให้กลุ่มละ 1 ชุด จากนั้นให้เด็กแต่ละกลุ่มสร้างหอคอยกระดาษ a4 และเทปกาวให้สูงที่สุด กลุ่มไหนที่สร้างสูงทีสุดจะเป็นผู้ชนะสำหรับกิจกรรมนี้
- ทักษะสมอง EF
- ความจำเพื่อใช้งาน
- ความคิดยืดหยุ่น
- การวางแผน จัดระบบ ดำเนินการ
- ริเริ่ม
- มุ่งเป้า
- กิจกรรมนี้ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มจะเหมาะกับเด็ก 4 ขวบขึ้นไป
กิจกรรมที่ 4 Climbing ball
- อุปกรณ์ เกมปีนป่ายย้ายลูกบอลแสนสนุก
- วิธีเล่น คุณครูให้เด็ก 1 – 4 คนนั่งแต่ละฝั่งของเกมปีนป่าย และให้เด็กใช้ไม้พาลูกบอลขึ้นไปไต่ขึ้นไปบนผนังที่มีหลุมจนถึงจุดบนสุดของหอคอยให้ครบทั้ง 3 ลูก โดยห้ามให้บอลตกลงมา หากบอลตกลงมาให้เริ่มต้นจากฐานใหม่ ผู้เล่นที่สามารถพาลูกบอลขึ้นไปครบ 3 ลูกก่อนเป็นผู้ชนะ สามารถให้เด็กแข่งขันกันเป็นทีม และให้เด็กช่วยกันวางแผนภายในทีมได้
- ทักษะสมอง EF
- การจดจ่อ
- มุ่งเป้า
- ควบคุมอารมณ์
- วางแผน จัดระบบ และการดำเนินการ
เป็นไงบ้างครับกับกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF สำหรับเด็กปฐมวัย คุณครูคงได้ไอเดียไปใช้ในห้องเรียนกันนะครับ โดยคุณครูสามารถนำไปปรับกับบริบทห้องเรียนของคุณ เช่น ปรับกิจกรรมให้ยาก ง่ายขึ้นตามระดับพัฒนาการ และประสบการณ์เดิมของเด็กในห้องเรียนนะครับ
สุดท้ายนี้หากคุณครูต้องการรับข่าวสารดีๆ แบบนี้ฝากติดตามพวปทางช่องทางโซเชียวต่างๆ หรือสมัครเมลลิสต์ด้านล่างครับ